Home
โทร 02 669 3254 - 63 |
Sitemap
|
สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
CO-OPERATIVE LEAGUE OF THAILAND
เมนู
สันนิบาตสหกรณ์ฯ
ประวัติสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ทำเนียบผู้บริหารสันนิบาตแห่งประเทศไทย
วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
นโยบายการดำเนินการ
อำนาจหน้าที่
แผนพัฒนาสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ระเบียบสันนิบาตสหกรณ์ฯ ว่าด้วยสันนิบาตจังหวัด
แผนที่ สสท.
ระบบงาน สันนิบาตสหกรณ์ฯ
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างผู้บริหาร
คณะกรรมการดำเนินการฯ ชุดที่ 26
หน่วยงานภายใน
ผู้อำนวยการ
สายงานบริหาร
สายงานส่งเสริมสหกรณ์
สายงานพัฒนาธุรกิจ
สถาบันพิทยาลงกรณ์
สำนักที่ปรึกษาและช่วยเหลือสหกรณ์ทางกฎหมาย
ฝ่ายตรวจสอบภายใน
เกี่ยวกับสหกรณ์
ประวัติพระบิดา
วิวัฒนาการสหกรณ์ไทย
ประเภทสหกรณ์
หลักการณ์ อุดมการณ์ และวิธีการสหกรณ์
ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 (ฉบับสมบูรณ์)
สารสนเทศสหกรณ์
ผลิตภัณฑ์สหกรณ์
ติดต่อเรา
ข่าวประชาสัมพันธ์
หน้าแรก
ข่าวประชาสัมพันธ์
ผมว่า... รัฐควรใช้สหกรณ์ เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาประเทศ (ตอนที่ 1)
โดย นายกมลศักดิ์ นันตา
วันที่ 11 มี.ค. 2564 เวลา 15:30 น.
820
ผมว่า... รัฐควรใช้สหกรณ์
เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาประเทศ
ตอนที่ 1
:
เป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนา
โดย... รังสรรค์ ปิติปัญญา
ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และ รองประธานสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำกัด
เกริ่นกันก่อน
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองวาระที่ขบวนการสหกรณ์ไทยมีอายุครบ 105 ปี ผมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ จึงขอถือโอกาสเสนอบทความเรื่อง “ผมว่า...รัฐควรใช้สหกรณ์เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาประเทศ” มาให้พิจารณา ทั้งนี้ท่านผู้อ่านอาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้
ผมแบ่งเนื้อหาของบทความนี้ออกเป็น 3 ตอน ตอนที 1 เป็นเรื่องของเป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาประเทศ ตอนที่ 2 จะกล่าวถึงสหกรณ์ว่าคืออะไรกันแน่ และทำไมผมจึงเห็นว่าเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ และ ตอนที่ 3 จะพูดถึงสถานการณ์และการใช้ประโยชน์จากสหกรณ์ในปัจจุบัน
สำหรับบทความที่อยู่ในมือท่านขณะนี้เป็นตอนที่ 1 ที่มุ่งนำเสนอความคิดเกี่ยวกับเป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาประเทศ
เป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาของประเทศ
การขยายตัวของเศรษฐกิจคือเป้าหมายที่แท้จริง?
จากการศึกษาและติดตามพัฒนาการของประเทศไทยมานานพอสมควร ลึกๆ แล้วผมคิดว่าการพัฒนาของเราน่าจะมีปัญหา เริ่มต้นตั้งแต่เรื่องของเป้าหมายในการพัฒนา ผมนั่งคิดอยู่นานว่าเป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาคืออะไรกันแน่ เท่าที่เห็นหรือได้ยินบ่อยที่สุดคือการขยายตัวของเศรษฐกิจ มีการตั้งเป้ากันทุกปีว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ GDP ในปีนี้ (แต่ละปี) จะโตขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ เช่น 4% หรือ 5% หรืออื่นๆ เป้าหมายดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกับการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ภาคเกษตร อุตสาหกรรม การค้า บริการ และ อื่นๆ ซึ่งแต่ละภาคส่วนก็มีการตั้งเป้าหมายการขยายตัวของตัวเองไว้เช่นกัน
เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็จะมีการกำหนดแผนงานโครงการต่างๆ เพื่อผลักดันให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย มีการประเมินระหว่างปี หากเห็นแนวโน้มว่าจะไม่ถึงเป้าก็จะมีมาตรการหรือโครงการออกมากระตุ้นหรือผลักดันให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย
จากการติดตามข่าวการพัฒนามาเป็นระยะๆ พบว่าที่ผ่านมาการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงพอสมควร อาจจะสูงกว่าหลายๆ ประเทศที่มีเงื่อนไขคล้ายๆ กัน การขยายตัวเพิ่งจะมาต่ำลงในระยะหลังๆ นี่เอง ในฐานะของคนที่ติดตามการพัฒนาประเทศก็แอบเป็นห่วงอยู่เหมือนกันว่าถ้าแนวโน้มเป็นอย่างนี้และอย่างต่อเนื่องแล้วอนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตามด้วยการมองการพัฒนาประเทศแบบเอนเอียงไปทางด้านเศรษฐกิจ จนหลายคนคิดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจคือสาระหลักของการพัฒนาประเทศที่แท้จริง หรือเศรษฐกิจยิ่งขยายตัวประเทศชาติยิ่งเจริญ ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าจะถูกต้อง และการพัฒนาที่ยึดเอาการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลางอย่างในปัจจุบันนี้อาจนำมาซึ่งความผิดพลาดและบิดเบี้ยวของสังคม
แล้วเป้าหมายที่แท้จริงคืออะไรกันแน่?
ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวในระดับสูง คนจำนวนหนึ่งมีรายได้และความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในทางตรงกันข้ามเราพบว่าประชาชนระดับล่าง (รากหญ้า) จำนวนมาก (มากกว่าพวกความมั่งคั่ง หลายเท่าตัว) กำลังเผชิญหน้ากับความยากจน ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม และ ต้องเผชิญกับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ซึ่งหมายความว่าผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมาไม่ได้กระจายไปยังประชาชนอย่างทั่วถึง การกระจายรายได้ของไทยมีแนวโน้มเลวลงเรื่อยๆ และ เคยมีข้อมูลว่าเลวเป็นอันดับต้นๆ ของโลก คนส่วนใหญ่ของประเทศยังพึ่งพาตัวเองไม่ได้...
“ยิ่งพัฒนาประเทศ ประชาชนยิ่งพึ่งพาตัวเองไม่ได้”
จนบางคนตั้งข้อสังเกตเชิงประชดประชันว่า
“การพัฒนา หมายถึง การทำให้เลวลง การทำให้หมดไป”
สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ผมกลับมาตั้งคำถามว่า “การกำหนดเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศที่ผ่านมานั้นถูกต้องหรือไม่?” จริงๆ แล้วรากฐานของประเทศคือ ประชาชน ดังนั้นเป้าหมายของการพัฒนาที่แท้จริงควรจะอยู่ที่ประชาชน การพัฒนาต้องทำให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข มีศักดิ์ศรี มีความเท่าเทียมกับคนอื่น การพัฒนาใดๆ ที่ไม่ได้นำไปสู่สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นการพัฒนาที่ไม่ถูกต้อง และการพัฒนาใดที่ลด (ทำลาย) ความสามารถในการพึ่งพาตนเองของประชาชนลงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ดังนั้นในทัศนะของผมการพัฒนาที่ผลประโยชน์ไม่ได้ตกอยู่กับคนส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ต้องเร่งแก้ไข ประชาชนต้องเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจ เทคโนโลยี่ และ อื่นๆ ต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาประชาชน หรือเป็นเพียงทางผ่านไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง
“เราต้องไม่ติดกับดักทางผ่านจนลืมเป้าหมายที่แท้จริง”
หลายคนอาจเห็นด้วยกับผม แต่ก็คิดว่าการพัฒนาก็ควรจะเริ่มต้นจากจุดสำคัญๆ หรือคนกลุ่มเล็กๆ ก่อนเมื่อคนกลุ่มเล็กได้รับผลประโยชน์แล้ว ผลประโยชน์หรือความมั่งคั่งก็จะไหลบ่าสู่คนอื่นๆ คล้ายๆ กับน้ำที่จะไหลจากที่สูงไปหาที่ต่ำ ซึ่งผมต้องขออนุญาตเห็นต่าง เพราะโดยธรรมชาติแล้ว “คนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเห็นแก่ตัวสูง” ดังนั้นเมื่อได้รับผลประโยชน์แล้วก็จะพยายามเก็บกักผลประโยชน์เหล่านั้นไว้ให้มากที่สุดจนเก็บกักไว้ไม่ไหวจึงจะปล่อยผลประโยชน์ออกมาสู่คนอื่น (คล้ายๆ กับเขื่อนที่กักน้ำเอาไว้ จะปล่อยออกมาเมื่อเกินกำลังความสามารถที่จะเก็บกักแล้ว) เหมือนกับกรณีของการพัฒนาประเทศที่มุ่งไปที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่มีผลทำให้การกระจายรายได้ของประเทศเลวลงเรื่อยๆ ดังนั้น นอกจากมีเป้าหมายหลักที่ถูกต้องแล้ว สิ่งที่เราคงต้องคุยกันให้มากขึ้น คือวิธีการหรือเครื่องมือที่จะใช้ในการพัฒนาที่ช่วยชะลอผลเชิงลบ รวมถึงเร่งให้เกิดการกระจายความมั่งคั่งของการพัฒนาและความสามารถในการพึ่งพาตนเองไปสู่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน
แล้วเครื่องมือที่เหมาะสมคืออะไรล่ะ?
หากเป้าหมายของการพัฒนาคือ
“ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้”
ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง คำถามที่ตามมาก็คือแล้วจะมีหนทางหรือเครื่องมืออะไรล่ะ ที่สามารถนำพาการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ซึ่งอาจมีหลายคำตอบ แต่คำตอบหนึ่งที่เห็นว่าเป็นไปได้ก็คือ
“สหกรณ์”
คนจำนวนหนึ่งฟังคำว่า “สหกรณ์” แล้วอาจร้อง “ยี้” อย่างไรก็ตามขอให้ใจเย็นๆ และเปิดกว้าง ลองทำความเข้าใจกับวิธีคิดแบบสหกรณ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของงานสหกรณ์ ผ่านพระบรมราโชวาทที่พระราชทานต่อผู้นำสหกรณ์ในหลายโอกาส ซึ่งในที่นี้ขออัญเชิญบางพระบรมราโชวาทมาแสดงไว้เป็นตัวอย่าง ดังนี้
“... การสหกรณ์นี้ถ้าเข้าใจดีแล้วก็เห็นได้
ว่า
เป็นวิธีทางเดียวที่จะทำให้มีความเจริญก้าวหน้าของประเทศได้ และต้องเข้าใจว่าเป็นการสหกรณ์ที่เรียกว่าสหกรณ์แบบเสรี คือแต่ละคนต้องมีวินัยจริง แต่ว่าไม่อยู่ในบังคับของใครเลย อยู่ในบังคับของวินัยที่ตัวเองต้องเป็นผู้รับรอง ...” (พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ผู้นำสหกรณ์ภาคการเกษตรทั่วประเทศ ณ ศาลาดุสิตาลัย เมื่อวันที่
7 พฤษภาคม 2522)
“... ควรจะมีการแพร่ขยาย ให้ใช้ระบบสหกรณ์ขึ้นทั่วประเทศ เนื่องจากวิธีการสหกรณ์นั้นเอง เป็นรากฐานที่ดีของระบบประชาธิปไตยอย่างสำคัญ สอนให้คนรู้จักรับผิดชอบร่วมกัน ให้มีการเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารสหกรณ์ ตลอดจนให้รู้ถึงคุณค่าของประโยชน์อันจะได้ร่วมกันเป็นส่วนรวม,,,” (พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ผู้นำสหกรณ์ภาคการเกษตรทั่วประเทศ ณ ศาลาดุสิตาลัย เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2520)
ส่งท้ายก่อนจาก
โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าเป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาประเทศคือ “ประชาชน” ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีชีวิตอย่างมีความสุขของประชาชนส่วนใหญ่คือสิ่งที่ผู้บริหารต้องคำนึงถึง และเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายดังกล่าวผมเสนอให้ใช้ “สหกรณ์” เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนา ซึ่งจะได้กล่าวถึงเครื่องมือนี้ในตอนต่อไป ... สวัสดีครับ
กิจกรรมล่าล่าสุด
11 มี.ค. 64
คณะกรรมการสันนิบาตสหกรณ์จังหวัดนครปฐม
132 ครั้ง
11 มี.ค. 64
ศิลปะการเจรจาต่อรองและติดตามหนี้ค้างชำระ รุ่นที่ 4
225 ครั้ง
11 มี.ค. 64
สมาชิกสหกรณ์เข้มแข็ง สหกรณ์ยั่งยืน รุ่นที่ 4
160 ครั้ง
11 มี.ค. 64
สสจ.ขอนแก่นจัดอบรมกฎหมายสหกรณ์ทุกประเภท
539 ครั้ง
11 มี.ค. 64
สอ.ศธ. ร่วมสัมมนาและประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565
411 ครั้ง
ดูทั้งหมด
เราใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานจากการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราและเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูลและ เนื้อหาต่างๆ ที่ผู้เข้าใช้งานจะได้รับชม
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โดยทางเว็บไซต์จะสร้างไฟล์ข้อมูลที่มีขนาดเล็กไว้ในอินเตอร์เน็ตเบราว์เซอร์ของผู้เข้าใช้งาน เพื่อเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานของท่าน รวมถึงเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการต่างๆ ภายในเว็บไซต์ของเรา และเมื่อผู้เข้าใช้งานกลับมาเยี่ยมชม หรือกลับเข้ามาใช้บริการในครั้งต่อไป แต่การเก็บข้อมูลด้วยคุกกี้จะไม่เก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆของท่าน การยอมรับนี้จะไม่ทำให้เครื่องของท่านติดไวรัส หรือมัลแวร์แต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อทำการวิเคราะห์ซึ่งอาจทำหรือให้บริการโดยบุคคลอื่นที่ให้บริการหรือได้รับมอบหมายให้กระทำแทนในนามของเรา เช่น Google Analytic เป็นต้น เมื่อผู้เข้าใช้งานมีการกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์โดยไม่เปลี่ยนแปลงการตั้งค่าคุกกี้บนอินเตอร์เน็ตเบราส์เซอร์ อุปกรณ์ของผู้ใช้งานจะยอมรับคุ๊กกี้อัตโนมัติในการเข้าใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งถ้าหากผู้เข้าใช้งานไม่ต้องการให้คุกกี๊ทำการรวบรวมข้อมูล ผู้ใช้งานสามารถเลือกเปลี่ยนแปลง หรือตั้งค่าการยอมรับคุกกี๊ได้ที่เมนู "การตั้งค่า" ของอินเตอร์เน็ตเบราว์เซอร์ที่ใช้งานอยู่
ยอมรับ