Home
Online Learning
โทร 02 669 3254 - 63 |
Sitemap
|
สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
CO-OPERATIVE LEAGUE OF THAILAND
เมนู
สันนิบาตสหกรณ์
ประวัติสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ทำเนียบผู้บริหารสันนิบาตแห่งประเทศไทย
วิวัฒนาการสหกรณ์ไทย
วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
นโยบายการดำเนินการ
ภารกิจและหน้าที่
แผนพัฒนาสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ระเบียบสันนิบาตสหกรณ์ฯ ว่าด้วยสันนิบาตจังหวัด
แผนที่ สสท.
สารสนเทศ สำหรับผู้บริหาร สสท.
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างผู้บริหาร
คณะอนุกรรมการพัฒนาสหกรณ์
คณะอนุกรรมการส่งเสริมสหกรณ์
คณะอนุกรรมการบริหาร
คณะกรรมการดำเนินการฯ
ที่ปรึกษาสันนิบาตสหกรณ์
หน่วยงานภายใน
ผู้อำนวยการ
สายงานบริหาร
สายงานส่งเสริม
สถาบันพิทยาลงกรณ์
ฝ่ายตรวจสอบภายใน
เกี่ยวกับสหกรณ์
ประวัติพระบิดา
ประวัติการสหกรณ์ในประเทศไทย
ความหมายของสหกรณ์
ประเภทสหกรณ์
อุดมการ และ หลักการ
ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ฉบับที่ 2 พ.ศ 2553
และฉบับที่ 3 พ.ศ 2562 (ฉบับสมบูณณ์)
สารสนเทศสหกรณ์
ผลิตภัณฑ์สหกรณ์
ติดต่อเรา
ข่าวกิจกรรม
หน้าแรก
ข่าวกิจกรรม
กฎกระทรวง ข้อ ๙(๖) มีผลใช้บังคับเมื่อใด ?
โดย นายกมลศักดิ์ นันตา
วันที่ 02 เม.ย. 2564 เวลา 07:24 น.
374
กฎกระทรวง ข้อ ๙(๖) มีผลใช้บังคับเมื่อใด ?
ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม
ประธานคณะกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ทันที่กฎกระทรวงการดำเนินงานและการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ.๒๕๖๔ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ก็ก่อให้เกิดความตระหนกแก่บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งกรรมการและผู้จัดการ โดยกฎกระทรวงข้อ ๙(๖) กรณีกรรมการและผู้จัดการของสหกรณ์ขนาดใหญ่ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามคือการผิดนัดชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่าเก้าสิบวันกับนิติบุคคลที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตในระยะเวลาสองปีก่อนวันที่ได้รับ การเลือกตั้งเป็นกรรมการหรือวันที่ทำสัญญาจ้างเป็นผู้จัดการหรือในขณะที่ดำรงตำแหน่งนั้น
ประการแรกที่ต้อทำความเข้าใจในลำดับแรก “กฎกระทรวง” คือ นิติกรรมทางปกครองที่ฝ่ายปกครองออกฝ่ายเดียว และการบังคับใช้กฎกระทรวงหรือกฎหมายนั้น รัฐจะกระทำการได้ก็ต่อเมื่อได้ประกาศให้บุคคลรับทราบถึงเนื้อหาของกฎกระทรวงหรือกฎหมายเพื่อที่ผู้อยู่ในบังคับจะได้ควบคุมการกระทำของตนเองให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงหรือกฎหมายเช่นว่านั้น และรัฐไม่อาจใช้อำนาจเพิ่มเติมให้เป็นผลร้ายแก่บุคคลเกินกว่าผลทางกฎหมายที่มีอยู่ในขณะกระทำการได้
ประการที่สอง หลักความไม่มีผลย้อนหลังของนิติกรรมทางปกครอง (Non-rétroactivité des actes administratifs) ซึ่งหลักนี้มีสาระสำคัญที่ห้ามมิให้ฝ่ายปกครองออกนิติกรรมทางปกครองฝ่ายเดียวให้มีผลบังคับย้อนหลัง ไม่ว่าจะเป็นนิติกรรมประเภทที่มีผลเป็นการทั่วไป คือ กฎ และนิติกรรมที่มีผลเป็นการเฉพาะรายเฉพาะกรณี คือ คำสั่งทางปกครอง เหตุผลสำคัญที่รัฐไม่พึงออกกฎหมายให้มีผลย้อนหลังไปเป็นผลร้ายแก่บุคคลนั้น เพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจของบุคคลที่มีต่อการใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐ ทั้งนี้เพราะหากการปกครองในบ้านเมืองใด รัฐไม่ยึดมั่นในภาษิตกฎหมายบทหนึ่งว่า “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมาย” ราษฎรย่อมไม่มีหลักประกันว่าสิ่งที่ตนได้กระทำไปในวันนี้ในอนาคตกาลวันข้างหน้า
เมื่อเข้าใจหลักคิดทั้งสองประการแล้ว ก็อาจอธิบายได้ว่ากรรมการและผู้จัดการของสหกรณ์ขนาดใหญ่ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามคือการผิดนัดชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่าเก้าสิบวันในระยะเวลาสองปีก่อนวันที่ได้รับ การเลือกตั้งเป็นกรรมการหรือวันที่ทำสัญญาจ้างเป็นผู้จัดการหรือในขณะที่ดำรงตำแหน่งนั้น หมายความว่า หากกฎกระทรวงข้อ๙ (๖) ไม่อาจใช้บังคับแก่กรรมการหรือผู้จัดการของสหกรณ์ขนาดใหญ่ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ แต่หากหลังวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ กรรมการหรือผู้จัดการของสหกรณ์ขนาดใหญ่ผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขตามข้อ ๙ (๖) ดังกล่าว ก็จำต้องบังคับตามกฎกระทรวงข้อ ๑๑ คือ กรรมการรายนั้นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่และพ้นจากตำแหน่งทันที หรือผู้จัดการรายนั้นต้องถูกเลิกจ้างทันที
ส่วนกรณีทีมีการเลือกตั้งกรรมการหรือจัดผู้จัดการนั้นหลังวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ต้องบังคับไปตามข้อ ๙(๖) คือ กรรมการหรือผู้จัดการของสหกรณ์ขนาดใหญ่ ต้องไม่มีการผิดนัดชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่าเก้าสิบวันกับนิติบุคคลที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตในระยะเวลาสองปีก่อนวันที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการหรือวันที่ทำสัญญาจ้างเป็นผู้จัดการ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองกรณีดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อใดก็ต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า สหกรณ์แห่งนั้นเป็น “สหกรณ์ขนาดใหญ่” เมื่อใด นั่นหมายความกฎกระทรวงข้อ ๙(๖) จะใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อวันที่นายะเบียนสหกรณ์ได้ประกาศรายชื่อสหกรณ์ขนาดใหญ่เสียก่อน เมื่อปรากฎว่านายทะเบียนสหกรณ์ได้ออกประกาศรายชื่อสหกรณ์ขนาดใหญ่ เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๔ ดังนั้นกรรมการหรือผู้จัดการของสหกรณ์ขนาดใหญ่ที่ได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งก่อนวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๔ จึงไม่อยู่ในบังคับคุณลักษณะต้องห้ามดังกล่าว
กิจกรรมล่าล่าสุด
02 เม.ย. 64
แจ้งเลื่อนการฝึกอบรม / สัมมนา เดือนเมษายน 2564
399 ครั้ง
02 เม.ย. 64
ประชุมคณะอนุกรรมการบริหาร ครั้งที่ 7/2564
42 ครั้ง
02 เม.ย. 64
ประชุมหารือผลกระทบการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
68 ครั้ง
02 เม.ย. 64
สสท.ร่วมกับ สสจ.เพชรบุรี ประชุมหารือแนวทางการจัดโครงการมหกรรมสินค้าสหกรณ์สู่ผู้บริโภค
34 ครั้ง
02 เม.ย. 64
ปิดโครงการฝึกอบรม “การเงิน การบัญชี และการบริหารสำหรับกรรมการดำเนินการ และผู้จัดการสหกรณ์” รุ่นที่ 1
73 ครั้ง
ดูทั้งหมด