Home
Online Learning
โทร 02 669 3254 - 63 |
Sitemap
|
สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
CO-OPERATIVE LEAGUE OF THAILAND
เมนู
สันนิบาตสหกรณ์
ประวัติสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ทำเนียบผู้บริหารสันนิบาตแห่งประเทศไทย
วิวัฒนาการสหกรณ์ไทย
วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
นโยบายการดำเนินการ
ภารกิจและหน้าที่
แผนพัฒนาสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ระเบียบสันนิบาตสหกรณ์ฯ ว่าด้วยสันนิบาตจังหวัด
แผนที่ สสท.
สารสนเทศ สำหรับผู้บริหาร สสท.
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างผู้บริหาร
คณะอนุกรรมการพัฒนาสหกรณ์
คณะอนุกรรมการส่งเสริมสหกรณ์
คณะอนุกรรมการบริหาร
คณะกรรมการดำเนินการฯ
ที่ปรึกษาสันนิบาตสหกรณ์
หน่วยงานภายใน
ผู้อำนวยการ
สายงานบริหาร
สายงานส่งเสริม
สถาบันพิทยาลงกรณ์
ฝ่ายตรวจสอบภายใน
เกี่ยวกับสหกรณ์
ประวัติพระบิดา
ประวัติการสหกรณ์ในประเทศไทย
ความหมายของสหกรณ์
ประเภทสหกรณ์
อุดมการ และ หลักการ
ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ฉบับที่ 2 พ.ศ 2553
และฉบับที่ 3 พ.ศ 2562 (ฉบับสมบูณณ์)
สารสนเทศสหกรณ์
ผลิตภัณฑ์สหกรณ์
ติดต่อเรา
ข่าวประชาสัมพันธ์
หน้าแรก
ข่าวประชาสัมพันธ์
เปรียบเทียบ องค์การสหกรณ์ กับ องค์การอื่น
โดย นายกมลศักดิ์ นันตา
วันที่ 11 ม.ค. 2564 เวลา 10:05 น.
223
เปรียบเทียบ องค์การสหกรณ์ กับ องค์การอื่น
พีระพงศ์ วาระเสน
1. สหกรณ์ กับ บริษัท
1.1 วัตถุประสงค์ การรวมกัน
สหกรณ์มีความมุ่งหมายเพื่อให้บริการระหว่างกันในหมู่สมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์) ตามปรัชญาสหกรณ์ “ช่วยตน ช่วยกัน (Self help Mutual help)
ส่วนบริษัท รวบรวมผู้ถือหุ้นจัดตั้งขึ้น เพื่อทำการค้าหากำไรกับบุคคลภายนอก
1.2 ลักษณะการรวม
สหกรณ์เป็นองค์กรมุ่งการรวมคนเป็นสำคัญ และเพื่อให้เป็นกลุ่มคนที่เครือข่ายกว้างขวางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สหกรณ์จึงเป็นการรวมกันของผู้มีคุณลักษณะเพื่อร่วมมือร่วมใจ แบ่งปันกัน อย่างสร้างสรรค์ พัฒนา
บริษัท ถือหลักการรวมทุนเป็นสำคัญ บุคคลทีมีเงินสามารถเข้าถือหุ้นของบริษัทได้ ทั้งนี้เพื่อผลตอบแทนในรูป กำไรสูงสุด (Maximize profit)
1.3 หุ้นและมูลค่าหุ้น
สหกรณ์ไม่จำกัดจำนวนทุนเรือนหุ้นก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ ดังนั้น สหกรณ์จึงมีหุ้นที่จะจำหน่ายให้แก่สมาชิกใหม่อยู่เสมอ ตามหลักการสหกรณ์ข้อที่ 1 รับสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง ราคาหุ้นของสหกรณ์จึงคงที่
หุ้นของสหกรณ์มีมูลค่าต่ำ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีกำลังทรัพย์น้อยและที่มีความสมัครใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ได้
สำหรับหุ้นของบริษัท กฎหมายบังคับให้ต้องกำหนดจำนวนทุนเรือนหุ้น และต้องมีผู้จองหุ้นไว้ครบจำนวนก่อนขอจดทะเบียนตั้งขึ้นเป็นบริษัทด้วยเหตุนี้ถ้ากิจกรรมของบริษัทสามารถจ่างเงินปันผลได้สูงก็มี ผู้ต้องการซื้อหุ้นของบริษัทมากขึ้น จึงขึ้นลงได้ตาม อุปสงค์ และ อุปทาน ของหุ้น เหมือนสินค้าอย่างหนึ่ง นอกจากนี้มูลค่าหุ้นของบริษัทมักกำหนดไว้เพื่อให้ได้เงินทุนตามจำนวนที่ต้องการ
1.4 การควบคุมและการออกเสียง
สหกรณ์ถือหลักการรวมคนจึงให้ความเคารพต่อสิทธิของบุคคลเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้สมาชิกของสหกรณ์ทุกคนไม่ว่าจะถือหุ้นมากหรือน้อยย่อยมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนให้สหกรณ์ได้คนละหนึ่งเสียง(one member one vote) ตามหลักการสหกรณ์ข้อที่ 2 การใช้สิทธิออกเสียงสมาชิกออกเสียงด้วยตนเอง ไม่มอบให้บุคคลอื่นออกเสียงแทน
ส่วนบริษัท ถือการรวมทุนค่าหุ้นเป็นสำคัญ ออกเสียงตามจำนวนหุ้นที่ถือ และสามารถมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาออกเสียงแทนได้ อำนาจในบริษัทจึงตกอยู่กับผู้ถือหุ้น
1.5 การแบ่งผลประโยชน์
ในสหกรณ์การรวมทุนของสมาชิกสหกรณ์(เจ้าของสหกรณ์) ตั้งสหกรณ์ขึ้นเพื่อบริการระหว่างสมาชิกสหกรณ์(เจ้าของสหกรณ์) สมาชิกตามที่ต้องการ หากเกิดมีส่วนเกิน (Surplus) ขึ้น สมาชิกจะเฉลี่ยคืนไปทั้งหมด เฉลี่ยคืนไปบางส่วน หรือ นำไว้ขยายกิจการการให้บริการ โดยการพิจารณาตัดสินใจของสมาชิก หรือในกรณีมีส่วนขาด (Deficit) เมื่อต้องการยังคงบริการของสหกรณ์ต่อไป สมาชิกก็ตัดสินใจร่วมกันในการระดมทุนเพิ่มได้ เพื่อให้บริการที่ต้องการยังคงอยู่ต่อไป สิ่งสำคัญที่สุดคือการที่สมาชิกได้รับบริการที่พึงพอใจจากสหกรณ์ หรือมีความสุขจากบริการของสหกรณ์ที่ตนเองเป็นเจ้าของ ซึ่งอาจมีผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน อาจเป็นผลตอบแทนทางสังคม และวัฒนธรรม ต่อชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่ก็ได้
บริษัท จะทำการติดต่อซื้อขายกับ ผู้ถือหุ้น หรือ บุคคลภายนอกที่ไม่ได้ถือหุ้น ก็ได้ ผู้ถือหุ้นในบริษัท จำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ถือ
2. สหกรณ์กับรัฐวิสาหกิจ
สหกรณ์มีสมาชิกเป็นเจ้าของ ร่วมมือกัน ด้วยความสมัครใจ และผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติมหลังจากก่อตั้งแล้ว ต้องเป็นที่ยอมรับของสมาชิกส่วนใหญ่ในเรื่องคุณสมบัติ สหกรณ์ดำเนินการให้บริการที่สมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์) พึงพอใจ ตามความต้องการของสมาชิก
รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์การที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อาจมีโครงสร้างเช่นเดียวกับหน่วยธุรกิจเอกชนหรือมีโครงสร้างอย่างหน่วยงานของราชการ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร จากการให้บริการประชาชน
3. สหกรณ์ กับองค์กรการกุศล
สหกรณ์ยึดมั่นในปรัชญา ช่วยตน ช่วยกัน (self help mutual help) เป็นองค์กรอิสระพึ่งพาตนเอง
องค์กรการกุศล เป็นการช่วยเหลือจากภายนอก ทั้งนี้เพื่อความรวดเร็ว และคุณภาพในการช่วยเหลือ
4. สหภาพสหกรณ์ กับสหภาพแรงงาน
สหภาพสหกรณ์ (Co-operative Union) เป็นองค์กรสูงสุดของขบวนการสหกรณ์ในประเทศนั้น ๆ มักจะมีหน้าที่เพื่อให้การศึกษา อบรม ข้อมูลข่าวสาร และ เชื่อมโยงเครือข่ายในขบวนการสหกรณ์ทั้งภายประเทศ และระหว่างประเทศ เรียกว่า สันนิบาตสหกรณ์ หรือสหพันธ์สหกรณ์ หรือองค์กรกลางสหกรณ์ ก็ได้
สหภาพแรงงาน (Trade Union) คือการรวมตัวกันของกลุ่มลูกจ้างโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้มีการดำเนินการตาม หรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
กิจกรรมล่าล่าสุด
11 ม.ค. 64
สสท. รุกคืบ ยื่นหนังสือคณะกรรมาธิการ ขอปรับปรุงร่างกฎกระทรวงฯ สหกรณ์ใหม่
64 ครั้ง
11 ม.ค. 64
“มนัญญา” เปิดกระทรวงฟังเสียงผลกระทบร่างกฎกระทรวงจัดแถวสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยน
149 ครั้ง
11 ม.ค. 64
สหกรณ์ประเภทร้านค้าเป็นสหกรณ์ตรงไหน ไม่เข้าใจ?
106 ครั้ง
11 ม.ค. 64
สหกรณ์โคนมบ้านบึงชูโครงการ “ดื่มนมช่วยเกษตรผ่านวิกฤติโควิด-19” จับมือสหกรณ์โคนมหนองโพ ผลิตนมกล่องยูเอชที
65 ครั้ง
11 ม.ค. 64
ชาวสหกรณ์ประจวบฯรวมใจ ห่อผลมะม่วงทรงปลูก ในหลวง ร.๙
50 ครั้ง
ดูทั้งหมด