Home
โทร 02 669 3254 - 63 |
Sitemap
|
สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
CO-OPERATIVE LEAGUE OF THAILAND
เมนู
สันนิบาตสหกรณ์ฯ
ประวัติสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ทำเนียบผู้บริหารสันนิบาตแห่งประเทศไทย
วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
นโยบายการดำเนินการ
อำนาจหน้าที่
แผนพัฒนาสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ระเบียบสันนิบาตสหกรณ์ฯ ว่าด้วยสันนิบาตจังหวัด
แผนที่ สสท.
ระบบงาน สันนิบาตสหกรณ์ฯ
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างผู้บริหาร
คณะกรรมการดำเนินการฯ ชุดที่ 26
หน่วยงานภายใน
ผู้อำนวยการ
สายงานบริหาร
สายงานส่งเสริมสหกรณ์
สายงานพัฒนาธุรกิจ
สถาบันพิทยาลงกรณ์
สำนักที่ปรึกษาและช่วยเหลือสหกรณ์ทางกฎหมาย
ฝ่ายตรวจสอบภายใน
เกี่ยวกับสหกรณ์
ประวัติพระบิดา
วิวัฒนาการสหกรณ์ไทย
ประเภทสหกรณ์
หลักการณ์ อุดมการณ์ และวิธีการสหกรณ์
ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 (ฉบับสมบูรณ์)
สารสนเทศสหกรณ์
ผลิตภัณฑ์สหกรณ์
ติดต่อเรา
ข่าวประชาสัมพันธ์
หน้าแรก
ข่าวประชาสัมพันธ์
บทความพิเศษ “สหกรณ์เข้มแข็ง เกษตรกรยั่งยืน”
โดย นายกมลศักดิ์ นันตา
วันที่ 29 ส.ค. 2563 เวลา 20:20 น.
1022
บทความพิเศษ “สหกรณ์เข้มแข็ง เกษตรกรยั่งยืน”
ผมได้อ่านรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง “ สหกรณ์เข้มแข็ง เกษตรกรยั่งยืน ” ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ เสนอต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อ 29 มีนาคม 2561 ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของระบบสหกรณ์ รวมทั้งปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนทั่วไป เพื่อหาแนวทางนำไปสู่การแก้ไขปัญหา พัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์ สมาชิก และเกษตรกรได้รับความรู้ความเข้าใจและได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบสหกรณ์ ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่การพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ โดยใช้กลไกของระบบสหกรณ์เป็นตัวขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
รายงาน ฯ ดังกล่าวมีสาระน่าสนใจอย่างยิ่ง จึงคัดประเด็นสำคัญสรุปโดยย่อมานำเสนอ (สอดแทรกความคิดเห็นเพิ่มเติมเข้าไปด้วย) เพื่อให้ข้อมูลสำหรับผู้มีส่วนร่วมในขบวนการสหกรณ์รวมทั้งประชาชนทั่วไป จะได้ร่วมมือกันสร้างเสริมพัฒนากิจการสหกรณ์ในประเทศไทย ให้มีผลการดำเนินงานที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและสามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม นำไปไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน แก่ประชาชนและประเทศชาติ รายละเอียดมีดังนี้.-
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 6 เรื่อง แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 75 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า “ รัฐพึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก้ระบบสหกรณ์ประเภทต่างๆ และ กิจการวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน ” แต่ในอดีตและปัจจุบันพบว่ามีสหกรณ์หลายแห่งประสบปัญหาและวิกฤติต่างๆ ส่งผลต่อความศรัทธาและเชื่อมั่นของคนในสังคมเมื่อกล่าวถึงระบบสหกรณ์ สหกรณ์จำนวนไม่น้อยมีกลไกการดำเนินงานที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดแนวทางที่ชัดเจนในการตรวจสอบด้านการบริหารและมาตรการทางกฎหมาย เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีอาชีพทำเกษตรกรรม ในเบื้องต้น จึงกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานของสหกรณ์มุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายเกษตรกร ให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนระบบสหกรณ์ให้เกิดประสิทธิภาพ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยดำเนินการทั้งระบบตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต , การบริหารจัดการ , ความรู้และเทคโนโลยี ไปจนถึงการแปรรูปเพิ่มมูลค่า และ ส่งเสริมการตลาด เพื่อให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐานและจำหน่ายได้ราคาดี
ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาของสหกรณ์ส่วนใหญ่ คือ ปัญหาการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบจากสมาชิก เป็นโอกาสให้เกิดการทุจริตสร้างความเสียหายขึ้นได้ นอกจากนั้น ได้แก่กระบวนการตรวจสอบ การเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างสหกรณ์และเครือข่ายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ปัญหาด้านการผลิต การรวบรวม เครื่องหมายการค้า การจำหน่าย ช่องทางการตลาด การแปรรูปและการขนส่ง ฯลฯ
ปัญหาด้านบุคคล เช่น ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ของสมาชิก ปัญหาด้านคุณวุฒิของฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการ การได้รับความสนับนุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ และข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน นอกจากนั้น ได้แก่ ปัญหาด้านเงินทุน การจัดการด้านการเงินที่ขาดเสถียรภาพ ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจในการดำเนินกิจการ
ผู้ทำการศึกษา ฯ ได้สรุปแนวทางพัฒนาสหกรณ์ให้เข้มแข็งและเกษตกรยั่งยืน ไว้ดังนี้.-
1. การมีส่วนร่วมของสมาชิก
2. การตรวจสอบและการป้องกันการทุจริตในสหกรณ์
3. การบูรณาการและเชื่อมโยงเครือข่าย
4. การให้ความรู้แก่สหกรณ์และสมาชิก
5. การกำหนดคุณวุฒิ , คุณสมบัติ และจริยธรรมของฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการ
6. นโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐ
7. การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายสหกรณ์ให้ทันสถานการณ์
8. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ
ในปัจจุบัน 8 ประเด็นที่ยกมาดังกล่าว ได้รับความสนใจให้การสนับสนุนจากรัฐบาลมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำเร็จที่ชัดเจนเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ยังคงเกิดขึ้นตามที่ปรากฎจากการติดตามนำเสนอของสื่อมวลชน สาเหตุมาจากความเคยชินของสมาชิก ที่ส่วนใหญ่มุ่งแต่ใช้สิทธิในการรับประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญ (ใช้บริการสินเชื่อ) ขาดความสนใจช่วยกันสอดส่องและกำกับการดำเนินงานในฐานะความมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการ แถมบางครั้งสนับสนุนให้เกิดการทำผิดระเบียบ/ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ขอเพียงให้ตนเองได้รับประโยชน์ ส่วนคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ (สหกรณ์ทุกประเภท) กล่าวได้ว่า เกินร้อยละ 50 อยู่ภายใต้การชี้นำของฝ่ายจัดการ (พนักงานซึ่งเป็นลูกจ้าง) หลากหลายเหตุผล เช่น กรรมการ ฯ ขาดความรู้และประสบการณ์ ขาดทักษะการบริหาร บ่อยครั้งให้อำนาจการตัดสินใจทางธุรกิจแก่ผู้จัดการสหกรณ์ หรือมีกรรมการไม่กี่คนที่สมคบคิดกับฝ่ายจัดการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ บางสหกรณ์การทุจริตเกิดจากประธานกรรมการสหกรณ์เพียงคนเดียวที่ฉลาดแกมโกงยักยอกเงินของสหกรณ์และสมาชิก ข่าวทุจริตในสหกรณ์เหล่านี้เป็นเรื่องจริงไม่สามารถปกปิดได้ในยุคข้อมูลข่าวสารแห่งโลกดิจิตัล
ความคิดเห็นส่วนตัวของผมเห็นว่า การแก้ไขปัญหาและพัฒนาสหกรณ์เพื่อให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน ต้องเริ่มต้นจากบุคคลสำคัญที่สุดในสหกรณ์ คือ สมาชิกทุก ๆ คน อย่ารู้จักแต่ใช้สิทธิเพื่อรับประโยชน์แต่อย่างเดียว เพราะถ้าเกิดการทุจริต/คอรัปชั่นในสหกรณ์ของท่าน ความเสียหายย่อมเกิดกับสมาชิกทุก ๆ คน รวมทั้งตัวท่านเอง เรามาช่วยกันกำจัดการทุจริต/คอรัปชั่นในสหกรณ์ให้หมดสิ้นไป ขอยกคำกล่าวที่หลายคนนำไปใช้แล้วได้ผลจริง กับคำกล่าวที่ว่า “ เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน ”
ขอจบบทความนี้ด้วยข้อชวนคิดให้กับประชาชนทั่วไป หากท่านมีส่วนร่วมเป็นสมาชิกสหกรณ์แห่งใดแห่งหนึ่ง ควรศึกษาที่มาและคุณประโยชน์ของระบบสหกรณ์ “ สมาชิกสหกรณ์ ” ทุกคนไม่แค่คิดแต่ใช้สิทธิรับผลประโยชน์ส่วนตน แต่ต้องรู้บทบาทหน้าที่ละการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจการ ช่วยกันตรวจสอบการดำเนินงานของสหกรณ์ (สมาชิกทุกคนมีสิทธิตรวจสอบขอดูข้อมูลและมีส่วนร่วมการตัดสินใจทางธุรกิจของสหกรณ์โดยการเข้าร่วมการประชุม ฯ ตามที่สหกรณ์นัดหมายทุกครั้ง ) สัมฤทธิ์ผลแรกที่จะเกิดอย่างแน่นอน คือ การปิดโอกาสการทุจริต หากมีความสามัคคีช่วยกัน ภายใต้ระบบคุณธรรม ยึดมั่นในจริยธรรม , ความพอเพียง และช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อกัน ผมว่าถึงวันนั้นจะเกิด “ สหกรณ์เข้มแข็ง เกษตรกรยั่งยืน ” หรือ “ สหกรณ์เข้มแข็ง สมาชิกอยู่ดี กินดี มีความสุข อย่างยั่งยืน ” ได้อย่างแน่นอน .......... สำหรับรายละเอียดคำอธิบายเพิ่มเติม “ แนวทางพัฒนาสหกรณ์ให้เข้มแข็งและเกษตกรยั่งยืน” (ทั้ง 8 ข้อ)
ผู้สนใจสามารถติดตามดาวน์โหลดเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
https://drive.google.com/file/d/1Znx2yddk4DjwLIVts74v0LFa4N2rTqwV/view?usp=sharing
เรวัตร ก่อวงศ์กาญจน์
นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ
โทร ฯ 081-9765982
Email :
rewatr@gmail.com
กิจกรรมล่าล่าสุด
29 ส.ค. 63
คณะกรรมการสันนิบาตสหกรณ์จังหวัดนครปฐม
95 ครั้ง
29 ส.ค. 63
ศิลปะการเจรจาต่อรองและติดตามหนี้ค้างชำระ รุ่นที่ 4
224 ครั้ง
29 ส.ค. 63
สมาชิกสหกรณ์เข้มแข็ง สหกรณ์ยั่งยืน รุ่นที่ 4
158 ครั้ง
29 ส.ค. 63
สสจ.ขอนแก่นจัดอบรมกฎหมายสหกรณ์ทุกประเภท
512 ครั้ง
29 ส.ค. 63
สอ.ศธ. ร่วมสัมมนาและประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565
394 ครั้ง
ดูทั้งหมด
เราใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานจากการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราและเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูลและ เนื้อหาต่างๆ ที่ผู้เข้าใช้งานจะได้รับชม
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โดยทางเว็บไซต์จะสร้างไฟล์ข้อมูลที่มีขนาดเล็กไว้ในอินเตอร์เน็ตเบราว์เซอร์ของผู้เข้าใช้งาน เพื่อเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานของท่าน รวมถึงเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการต่างๆ ภายในเว็บไซต์ของเรา และเมื่อผู้เข้าใช้งานกลับมาเยี่ยมชม หรือกลับเข้ามาใช้บริการในครั้งต่อไป แต่การเก็บข้อมูลด้วยคุกกี้จะไม่เก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆของท่าน การยอมรับนี้จะไม่ทำให้เครื่องของท่านติดไวรัส หรือมัลแวร์แต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อทำการวิเคราะห์ซึ่งอาจทำหรือให้บริการโดยบุคคลอื่นที่ให้บริการหรือได้รับมอบหมายให้กระทำแทนในนามของเรา เช่น Google Analytic เป็นต้น เมื่อผู้เข้าใช้งานมีการกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์โดยไม่เปลี่ยนแปลงการตั้งค่าคุกกี้บนอินเตอร์เน็ตเบราส์เซอร์ อุปกรณ์ของผู้ใช้งานจะยอมรับคุ๊กกี้อัตโนมัติในการเข้าใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งถ้าหากผู้เข้าใช้งานไม่ต้องการให้คุกกี๊ทำการรวบรวมข้อมูล ผู้ใช้งานสามารถเลือกเปลี่ยนแปลง หรือตั้งค่าการยอมรับคุกกี๊ได้ที่เมนู "การตั้งค่า" ของอินเตอร์เน็ตเบราว์เซอร์ที่ใช้งานอยู่
ยอมรับ